Harry Potter And The Deathly Hallows Book

WELCOME

ยินดีต้อนรับสู่บล็อควิชาภาษาอังกฤษ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



'อียู'ไฟเขียวสุ่มตรวจดีเอ็นเอเนื้อวัว



                                  'อียู'ไฟเขียวสุ่มตรวจดีเอ็นเอเนื้อวัว



ที่ประชุมสหภาพยุโรป (อียู) มีมติให้เริ่มการสุ่มตรวจสอบดีเอ็นเอในอาหารแช่แข็งที่มีส่วนประกอบของเนื้อวัวอย่างเป็นทางการ เพื่อค้นหาการปนเปื้อนของเนื้อม้า หวังหยุดยั้งวิกฤตอาหารแช่แข็งให้เร็วที่สุส  อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Parts of Speech


Parts of Speech
ประเภทของคำในประโยคภาษาอังกฤษ
o Verb กิริยา คำที่แสดงการกระทำ เช่น (to) be, have, do, like, work, sing, can, must
o Noun คำนาม คือคำที่แทนสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น pen, dog, work, music, town, London, teacher, John
o Adjective คำขยาย(บรรยาย)คำนาม เช่น a/an, the, some, good, big, red, well, interesting (มักอยู่หน้าคำนาม)
o Adverb คำขยาย Verb, Adjective หรือขยาย Adverb เอง มักลงท้ายด้วย -ly เช่น quickly, silently, well, badly, very, really (มักอยู่หน้า verb หรืออยู่ท้ายประโยค)
o Pronoun คำสรรพนาม เอาไว้พูดแทนคำนามที่พูดไปแล้ว เช่น I, you, he, she, some
o Preposition คำบุพบท ใช้เชื่อมคำนามกับคำนามอื่น เช่น in, on, at, to, after, under, over, from (มักอยู่หลังคำนามที่มันไปขยาย)
o in ใช้กับบอกตำแหน่งแบบกว้างๆ ไม่เจาะจง เช่น in May(เดือน), in 2010(ปี), in Bangkok(จังหวัด), in Thailand (ประเทศ)
o on ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น on Tuesday (วัน), on Sukhumvit Road (ถนน)
o at ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงที่สุด เช่น at 11:00(เวลา), at Central World (สถานที่เจาะจง)
o Conjunction คำสันธาน เอาไว้เชื่อมประโยค หรือเชื่อมคำ เช่น and, but, or, nor, for, yet, so, although, because, since, unless
ประโยคในภาษาอักฤษ
การที่จะสร้างประโยคได้ จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ Subject (ประธาน) + Verb (กิริยา) และถ้ากิริยานั้นต้องการกรรมด้วย ก็ต้องมี Object (กรรม) ด้วย
o สิ่งที่จะเป็นประธานของประโยคได้นั้นก็คือคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่น Noun เอง หรือจะเป็น Pronoun ก็ได้ แต่ก็อาจมีตัวมาขยายคำนามซึ่งก็คือ Adjective หรือ อาจมีตัวที่จะมาเชื่อมคำนามด้วย ซึ่งก็คือ Preposition
o ส่วนกิริยานั้นจะต้องเป็น Verb ซึ่งก็อาจมีตัวมาขยายซึ่งก็คือ Adverb
o และส่วนที่เป็น Object ก็จะเป็นคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่นเดียวกับประธานของประโยค
o และเมื่อเราต้องการเชื่อมประโยคหลายๆ อันเข้าด้วยกัน ก็จะต้องใช้ Conjunction ในการเชื่อมนั่นเอง
คำนาม เอกพจน์ พหูพจน์ การนับคำนาม
o คำนามเอกพจน์ จะตามด้วย is/am/has/does/Vเติม s,es เมื่อใช้ Present Simple
o คำนามพหูพจน์ จะตามด้วย are/have/do/V ไม่เติม s,es เมื่อใช้ Present Simple
o เวลาใช้นามขยายนาม นามตัวหน้าจะห้ามเติม s เด็ดขาด เช่น Vegetable soup
o ถ้าใช้นามขยายนาม แล้วนามตัวขยายมีการใช้ร่วมกับตัวเลข จะใช้คำนามเอกพจน์ เชื่อมด้วย – เช่น five-year-old son
o นามนับได้เอกพจน์ ถ้าไม่เจาะจงจะนำหน้าด้วย a, an (กรณีที่คำตามหลังออกเสียง ออ-) หรือใช้ the ในกรณีที่เจาะจง หรือผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าพูดถึงอะไรอยู่
o นามนับไม่ได้ จะถือว่าเป็นเอกพจน์เสมอ และจะไม่มีการใช้ a/an นำหน้าด้วย
o นามนับได้เอกพจน์ สามารถนำหน้าด้วย one, each, every
o นามนับได้พหูพจน์ สามารถนำหน้าด้วย two, both, a couple of, a few, several, many, a number of
o นามนับไม่ได้ สามารถนำหน้าด้วย a little, much, a great deal of
o ส่วนตัวที่นำหน้าได้ทั้งนามนับได้และนับไม่ได้ คือ not any/no, some, a lot of, lots of, plenty of, most, all
o a few / a little เป็นคำในแง่ดี คือ พอมีอยู่
o few / little เป็นคำในแง่ลบ คือมีน้อยมาก
o other = อันอื่น / another อีกอันหนึ่งจากสิ่งที่พูดถึง / the other(s) อันที่เหลือจากส่งที่พูดถึง
Tense
ภาษาอังกฤษนั้นมีรูปแบบประโยคที่เรียกว่า Tense เอาไว้แสดงเวลาในกรณีต่างๆ กัน โดยจะทำให้ส่วนของ Verb นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป (ซึ่ง verb ที่เปลี่ยนไปตาม Tense คือ Verb แท้ของประโยค) แบ่งเป็น 3 ประเภทเวลาใหญ่ๆ คือปัจจุบัน Present = V1, อดีต Past = V2, อนาคต Future = Will + V แต่ละเวลาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อย คือ Simple = V (รูปแบบอย่างง่าย), Continuous = be + Ving (กำลังทำ) , Perfect = Have + V3 (เกิดก่อนอีกอัน เวลาไม่สำคัญ)
1. Present Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน
o Present Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นจริงเสมอ = รูปแบบ คือ S + V1 (ผันตามประธาน) เช่น He watches TV everyday.
o Present Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน = S + is/am/are + Ving [be ผสมกับ V1 ได้ is/am/are] เช่น I am doing my homework.
o Present Perfect = ใช้บอกว่าได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยไม่ต้องระบุเวลาที่แน่นอน (รู้แค่ทำไปแล้ว เวลาไม่สำคัญ) = S + has/have +V3 [เนื่องจาก V1 ผสม have ได้ has/have] เช่น I have already seen that movie.
2. Past Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอดีต
o Past Simple = ใช้บอกเหตุการณในอดีต ที่เกิดแล้วจบในอดีต มักระบุเวลาที่เจาะจงในอดีต = รูปแบบ คือ S + V2 เช่น I walked to school yesterday.
o Past Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต (มักใช้คู่กับ Past Simple) = S +was/were + Ving [be ผสม V2 ได้ was/were] เช่น He was sleeping when I arrived.
o Past Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอดีตอีกอันหนึ่ง (จึงมักใช้คู่กับ Past Simple Tense) = S + had +V3 [เนื่องจาก V2 ผสม Have ได้ had] เช่น I had already eaten when they arrived.
3. Future Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอนาคต
o Future Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ในอนาคต = รูปแบบ คือ S + will + V1 เช่น It will snow tomorrow.
o Future Continuous = ใช้บอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต = S +will + be + Ving เช่น He will be sleeping when we arrive.
o Future Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต = S + will + have +V3 เช่น I will have already eaten when you arrive.
* S = Subject ประธาน หรือ ผู้กระทำ, V =Verb คือ กิริยา หรือคำแสดงการกระทำต่างๆ
**จริงๆ มีรูป Perfect Continuous ด้วย แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้
Auxiliary Verbs กิริยาช่วย
คือ Verb ที่ใช้ร่วมกับ Verb หลักในการสร้างประโยค แบ่งเป็น 2 พวก คือ
o Primary auxiliaries เช่น Be, Have, Do พวกนี้ยังสามารถทำตัวเป็น Verb แท้ได้ด้วย รวมถึงเป็นตัวที่ประกอบอยู่ใน Tense ต่างๆ ที่จะกล่าวถัดไป
o Be : V1= is/am/are , V2 = was/were, V3=been
o Have : V1 = has/have, V2 = had, V3= had
o Do : V1 = does/do, V2= did, V3 = done
o Modal auxiliaries เช่น can, could, may, might, must, ought, should, will, would พวกนี้ใช้ในการขอร้อง บอกความจำเป็น หรือความเป็นไปได้
กิริยาช่วยพวกนี้จะเป็นตัวช่วยในการสร้างประโยคคำถาม และประโยคปฏิเสธด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
การสร้างประโยคคำถาม
ให้นำเอา Verb ช่วยที่มีในประโยคบอกเล่ามาสลับไว้หน้าประโยค ถ้าในประโยคบอกเล่าไม่มี Verb ช่วย ให้เอา Vพวก Do มาใช้เป็น Verb ช่วย และหลังจากใช้ Verb ช่วยแล้ว Verb จะต้องไม่ผันตามประธาน เช่น
o He watches TV everyday. => Does he watch TV everyday?
o He is doing his homework. => Is he doing his homework?
o She can speak Thai. => Can she speak Thai?
การสร้างประโยคปฎิเสธ
ให้เติม Not หลัง Verb ช่วย ถ้าไม่มี Verb ช่วยให้ใช้ Vพวก Do มาช่วย เช่น
o He watches TV everyday. => He does not watches TV everyday.
o He is doing his homework. => He is not doing his homework.
o She can speak Thai. => She can not speak Thai
Tense ที่อาจสับสนกัน
Past Simple VS Present Perfect
o Past Simple จะใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ต้องการระบุว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่? (เวลาเป็นเรื่องสำคัญ) มักใช้กับเวลาที่เจาะจงในอดีต เช่น last year, yesterday
o Present Perfect แค่บอกให้รู้ว่าเกิดขึ้นมาแล้ว นานแค่ไหน หรือเกิดขึ้นมาแล้ว (กี่ครั้ง)มักใช้กับ Since (ตั้งแต่ … ) หรือ For (เป็นเวลา … )
Future Tense ใช้ Will หรือ Be going to
เวลาที่เราพูดถึงอนาคต เราสามารถพูดได้ 2 แบบ คือ ใช่ Will ไม่ก็ใช้ Be + going to + V1
o ถ้าใช้สำหรับการคาดเดา ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ ความหมายเหมือนกัน
o ถ้าใช้กับการวางแผนล่วงหน้า ใช้ be going to จะเหมาะกว่า เช่น I’m going to paint my bedroom tomorrow
o ถ้าใช้กับความตั้งใจ (สมัครใจ) ใช้ will เช่น Don’t worry. I will help you about this problem.
การพูดถึงเหตุการณ์อนาคตด้วย Time Clause
Time Clause คือ วลี (ไม่ใช่ประโยค) ที่บ่งบอกเวลา มักมีคำว่า Before, After, When, As soon as, Until
แต่ทว่า Time Clause จะไม่ใช้รูป Future Tense แม้ว่าเวลานั้นจะเกิดในอนาคตก็ตาม โดยจะใช้รูป Present Simple แทน เช่น
After I get home, I will eat dinner. หรือ When Bob comes, we will see him.
ประโยค Passive Voice
ประโยคในภาษาอังกฤษ สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ แบบ Active (เน้นที่ผู้กระทำ) และแบบ Passive (เน้นที่สิ่งที่ถูกกระทำ) โดยจะใช้รูป be + V3 มาผสมกับ Tense เดิม เพราะบางทีเราไม่ต้องการจะพูดว่าใครเป็นคนทำ หรือไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำ เราก็ใช้ Passive Voice ได้ เช่น
o Active : Mary helped the boy (S + V2 + O)
o Passive : The boy was helped by Mary (S + was/were + V3 + O) [เนื่องจาก V2 ผสมกับ Be จะได้ Was/Were]
Verb กลุ่มทำให้…รู้สึก…น่า…
ชื่ออาจจะดูแปลกๆ แต่ในภาษาอังกฤษจะมี Verb กลุ่มหนึ่งที่มีวิธีการแปลแปลกออกไป เช่น excite, interest, amaze, bore, amuse, annoy, amaze
Interest = ทำให้สนใจ (รูปปกติ) / be interested in = รู้สึกสนใจ (รูปแบบpassive) / Interesting = น่าสนใจ (รูป Adjective) เช่น
o This book interests me (หนังสือนี้ทำให้ฉันสนใจ)
o I am interested in this book (ฉันรู้สึกสนใจในหนังสือเล่มนี้)
o This book is interesting (หนังสือนี้น่าสนใจ)
Gerund และ Infinitive
Gerund คือรูปของ Ving ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็นประธานหรือเป็นกรรมของประโยคก็ได้ เช่น Walking is good exercise (Walking = การเดิน เป็นคำนาม)
Infinitive = To + V1 ไม่ผันตามประธาน เป็นการบอกว่าเพื่อที่จะทำอะไร เช่น The police ordered the driver to stop
o คำกิริยาบางคำ ตามด้วย Gerund หรือ Infinitive ความหมายก็เหมือนกัน เช่น It began to rain / It began raining
o คำกิริยาบางคำ ตามด้วย Gerund มีความหมายแบบนึง แต่ตามด้วย Infinitive จะมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น Remember, Regret, Forget, Try, Stop เช่น Forget + to +v1 จะแปลว่า ลืมที่จะทำอะไร แต่ทว่า Forget + Ving จะแปลว่าลืมการกระทำในอดีตไปแล้ว
การใช้รูปกิริยาหลัง Verb บางตัว
Let และ Help จะตามด้วย V1 ไม่ผัน เช่น Let me drive your car. (Let เป็น Verb แท้) อย่างไรก็ตาม Help สามารถตามด้วย To+V1 ได้ด้วย
ใช้ให้คนอื่นทำงาน
o บังคับให้ทำ : X makes Y do something (ไม่มี to) เช่น She made her son clean his room
o ขอให้ทำ : X has Y do something (ไม่มี to)
o ชวนให้ทำ : X gets Y to do something (มี to) เช่น Jack got his friends to play soccer with him after school
o ประธานให้คนอื่นทำอะไรกับบางอย่าง (ประธานไม่ได้ทำเอง) : X get,have something done (by Y) (V3) เช่น I had my watch repaired (by someone)